วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

Factors associated with the successful initiation of strategic planning

         สวัสดีคะ ท่านนักอ่านทุกท่าน ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของ ดิฉันนะคะที่ได้เข้ามาเขียน blog เรื่อง Strategic Planning  ซึ่ง blog นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้จากการเรียน ในรายวิชาทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ชั้นสูง ดังนั้นขอเชิญทุกท่่านมาร่วมกันอ่านและแลกเปลี่ยน  เรียนรู้ร่วมกันนะคะ
         สำหรับในเรื่องของการเริ่มต้นของการวางแผนกลยุทธ์(Antecedents of Strategic Planning Initiation)   ซึ่ง Harris และ Ogbanna(2006) ได้เสนอไว้ว่า การเริ่มต้นการวางแผนกลยุทธ์จะต้องเกิดจากแรงขับของกลุ่มปัจจัยทั้งภายใน และปัจจัยภายนอก ดังแสดงในภาพที่ 1




Fig. 1: Factors associated with the successful initiation of strategic planning.

      ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการเริ่มวางแผนกลยุทธ์ 
           เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้บริหารจะต้องพิจารณาทั้งปัจจัยภายในและภายนอกต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย 3 ลักษณะ
     1. Management Characteristics : ลักษณะการบริหารจัดการ  มีองค์ประกอบ 2 ปัจจัยคือ
         1.1) Long-term Orientation : การกำหนดทิศทางระยะยาว  เป็นการวางแผนการจัดการเชิงกุลยุทธ์นั้น องค์กรควรตีกรอบการบริหารจัดการว่าองค์กรจะกำหนดทิศทางของบริษัทอย่างไร  ทั้งในส่วนที่เกิดขึ้นระยะเวลาอันใกล้นี้และในอนาคคข้างหน้า  โดยเร่ิมต้นมองจากสิ่งที่ใกล้ตัว มีผลกระทบอย่างไรบ้าง ทั้งในด้านบวกและด้านลบ รวมทั้งมองให้ไกลตัวออกไปว่าในอนาคตบริษัทจะมุ่งไปในทิศทางไหน และผลกระทบที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำแผนในอนาคตต่อไป สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อความสำเร็จในการเริ่มต้นวางแผนกลยุทธ์
        1.2) Perception of past Success: แนวคิดหรือการรับรู้ที่ผ่านมาในอดีต  เป็นการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อนำมาปรับปรุงในด้านการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
    2. Firm Dynamics : ลักษณะของธุรกิจ มีองค์ประกอบ 4 ปัจจัย คือ
        2.1 Competitor Orientation : การกำหนดทิศทางคู่แข่งขัน เป็นการวิเคราะห์ตนเองควบคู่ไปกับคู่แข่งขัน และนำไปสู่การวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กร
        2.2 Cultural Entrenchment : การยึดมั่นในองค์กร  คือการสร้างวัฒนธรรมในการทำงาน เป็นสิ่งที่องค์กรมุ่งเน้นที่จะดำเนินการ เพื่อให้มีเกิดการร่วมมือและสร้างความเข้มแข็งต่อองค์กร หากกำหนดทิศทางขององค์กรไม่ชัดเจนแล้วก็จะส่งผลต่อการวางแผนได้เช่นกัน
        2.3 Resource Richness : ความอุดมความมั่งมีของทรัพยากรขององค์กร เป็นปัจจัยที่ช่วยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานขององค์กร   ส่วนใหญ่องค์กรจะมุ่งให้ความสำคัญไปที่เรื่องของการจัดการทางการเงิน   การบริหารจัดการเวลา   ซึ่งต้องมีมากพอในช่วงเริ่มต้นก่อนการวางแผนที่ต้องสอดคล้องกับผลการดำเนินงานและผลกำไรอย่างต่อเนื่อง
       2.4 Anti-planning Political Behavior : นโยบายทางการเมือง เป็นอีกปัจจัยที่หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดความขัดแย้ง อาจส่งผลให้แผนการหยุดชะงัก ไม่เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร
 
   3. Environmental Factors :ลักษณะสิ่งแวดล้อม มีองค์ประกอบ 2 ปัจจัย คือ
      3.1) Competitive Intensity : ความหนารุนแรงทางการแข่งขัน เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการวางแผนที่ต้องอาศัยการศึกษาข้อมูล แสวงหาโอกาสทางการแข่งขัน และหาเงื่อนไขที่ดีกว่า เพื่อนำมาวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เหนือคู่แข่งขัน
      3.2) Industry-wide Mindset :  ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมการขยายอุตสาหกรรม  เป็นการเปิดกว้างทางความคิดหรือเปิดรับสิ่งใหม่ ถือเป็นการสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงข้อมูลต่างที่ไกลตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กร เป็นการลงทุนที่น้อยแต่สามารถสร้างความเข้มเเข็งให้กับองค์กรนำมาซึ่งการวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น