วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

Quantitative Strategic planning Matrix

      สวัสดีคะ นักอ่านทุกท่าน  วันนี้ดิฉันจะมานำเสนอเกี่ยวกับการวานแผนแบบจับคู่เชิงปริมาณ โดยblog ที่ผ่านมาดิฉันก็ได้กล่าวถึงการกำหนดกลยุทธ์ไปเรียบร้อยแล้วนะคะ สำหรับขั้นตอนต่อมาก็คือ การปฏิบัติตามกลยุทธ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดิฉันจะนำมากล่าวถึงในวันนี้คะ ก่อนอื่นมาดู frame work ของ การวางแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ(Quantitative Strategic planning Matrix (QSPM))



Fig.5 : QSPM: Quantitative Strategic planning Matrix (Diavid, 2003)


       เมทริกซ์การวางแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณ (Quantitative Strategic Planning Matrix) (QSPM)คือวิธีการจัดการเชิงกลยุทธ์ขั้นสูงเพื่อใช้ในการการประเมินกลยุทธ์ที่เลือกมานั้นว่าเหมาะสมแค่ไหน โดยจะอาศัยข้อมูลเดิมที่วิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้ 
      วิธีการ ของ QSPM  ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ซึ่งเป็นกลยุทธ์การกำหนดกรอบการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ เมทริกซ์การวางแผนกลยุทธ์เชิงปริมาณหรือ QSPM ให้วิธีการวิเคราะห์สำหรับการเปรียบเทียบการกระทำทางเลือกที่เป็นไปได้วิธีการ QSPM อยู่ภายในขั้นตอน 3 ขั้นตอน ของการกำหนดกรอบการวิเคราะห์กลยุทธ์

ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิเคราะห์การจัดการกลยุทธ์โดยรวมทั้งหมดขององค์ โดยการระบุปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กรนั้นเองและจะได้ออกมาเป็นในรูปของเมทริกซ์การประเมินภาพแวดล้อมภายนอก(EFE) ,เมทริกซ์รายละเอียดของการแข่งขัน(CPM) เป็นการเปรียบเทียบปัจจัยในการแข่งขันกับคู่แข่ง  และเมทริกซ์กระประเมินสภาพแวดล้อมภายใน (IFE) เพื่อดูตำแหน่งในการกำหนดกลยุทธ์

ขั้นตอนที่ 2   หลังจากที่ระบุและวิเคราะห์ปัจจัยกลยุทธ์ที่สำคัญเป็นปัจจัยนำเข้าสำหรับ QSPM  เราสามารถกำหนดประเภทกลยุทธ์ตามที่ต้องการอยากจะกำหนด ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือการบริหารกลยุทธ์จากขั้นที่ 2โดยการจับคู่ (Comparison stage) ซึ่งประกอบด้วย 
- SWOT Analysis ( or TOWS)   เป็นเครื่องมือนำทางองค์กรไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ในระดับองค์ โดยใช้หลักการในการจับคู่ประเด็นต่างๆเข้าด้วยกัน ทำไมถึงมีการจับคู่  เพราะว่า SWOT มีปัจจัยหลัก 4 ตัวด้วยกันคือ Strengths (S),  Weaknesses (W) ,Opportunities(O) และ Threats (T),
- SPACE Matrix   เป็นเทคนิคในสร้างทางเลือกในการกาหนดกลยุทธ์ที่ผู้วิเคราะห์ต้องการให้ความสาคัญต่อสถานการณ์ทางการเงิน การได้เปรียบทางการแข่งขัน ความสามารถของธุรกิจในอุตสาหกรรมและความมั่นคงของสภาพแวดล้อม 
- BCG Matrix   ผู้คิดค้นคือกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาที่ชื่อว่า บอสตัน คอนซัลติ้ง กรู๊ป สำหรับชื่อ BCG นี้ก็ย่อมาจากชื่อของบริษัท ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงต้นๆ ของทศวรรษ 1970  มีลักษณะการใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก และมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจและมองเห็นส่วนของธุรกิจตนเองว่า ส่วนไหนสามารถทำรายได้ให้กับองค์กร และควรจะทุ่มเททรัพยากรลงไปตรงไหนดีถึงจะคุ้มค่าและให้องค์กรมีการเติบโตอย่างยั้งยืน 
- IE Matrix  เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
Grand strategy matrix  เป็นแมททริกซ์ความดึงดูดทางอุตสาหกรรม-จุดแข็งของธุรกิจ (Industry attractiveness- business strength matrix) เป็นวิธีการที่ General electric ได้คิดค้น       ในบางครั้งเรียก GE matrix  ซึ่งพิจารณาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจภายนอก (Critical external factors : CEF) ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจควบคุมไม่ได้ และปัจจัยภายในที่ธุรกิจควรดาเนินการเพื่อที่จะทาให้ธุรกิจประสบผลสาเร็จ(Critical success factors : CSF) 
          ส่วนของ BCG และ IE ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อที่จะตอบสนองต่อองค์การที่มีการดำเนินงานในหลายด้านหรือหลายธุรกิจ โดย BCG จะเน้นในสองมิติ กล่าวคือ มิติของส่วนแบ่งการตลาดสัมพันธ์ (RelativeMarket Share Position)และอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม(Industry Growth Rate )    (ผศ.ดร.วรางคณา ผลประเสริฐ)
ขั้นตอนที่ 3 เป็นขั้นของการตัดสินใจ  คือการเปรียบเทียบในกลยุทธ์ทางเลือกQSPMและตัดสินใจอย่างไหนเหมาะสมที่สุดสำหรับเป้าหมายขององค์กร  (ที่มาข้อมูล  http://www.maxi-pedia.com/quantitative+strategic+planning+matrix+QPSM )




























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น