วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

The Five competitive forces that shape strategy


ตอนที่ 3  The five competitive forces that shape strategy
     
        สวัสดีคะ นักอ่านทุกท่าน blog นี้ เป็น blog สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน   หลังจากที่ดิฉันได้เขียนบทความครั้งที่ผ่านมาเกี่ยวกับขั้นตอนของกระบวนการวางแผนกลยุทธ์  และสำหรับวันนี้ดิฉันจะมาเขียนเกี่ยวกับ กลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งนั้นก็คือ Five Forces Model  เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่นักการตลาดต้องรู้จักเป็นอย่างดี  ส่วน Five Forces Model นั้น เป็น Model ที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันที่เกิดจากแรงทั้งห้า ซึ่งถูกนำเสนอโดย Michale E.Porter กูรูทางด้านการวางกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ของ Harvard Business School   โดย Porter ได้กล่าวไว้ว่า สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมใดๆ ก็ตามแต่ จะถูกกำหนดอิทธิพลของทั้ง 5 ปัจจัย
(แหล่งข้อมูล: http://www.achallenges.com/index.php?file=popProduct.php&id=38) ดังภาพที่แสดงด้านล่างนี้
 


The Five competitive forces that shape strategy ประกอบด้วย :
1. อำนาจของผู้ซื้อ (Buyer Power) : ใครเป็นผู้ซื้อในตลาด หากมีผู้ซื้อหลายรายและเราเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ ก็ย่อมมีอำนาจในการต่อรองราคาได้  หรืออำนาจในการต่อรองให้สินค้ามีราคาต่ำลง แต่ต้องการคุณภาพที่ดีขึ้น หรือ บริการที่ดีขึ้น

2. อำนาจของผู้ขาย (Seller Power) : มีใครบ้างที่เป็นผู้ขายในตลาด หากมีผู้ขายเพียงรายเดียว เราย่อมเสีย เปรียบ แต่ถ้ามีผู้ขายหลายรานเราก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกผู้ขาย และสามารถต่อรองราคาได้

3. สินค้าทดแทน (Substitution) : การซื้อสินค้า หากมีสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ ส่งผลให้เกิดอำนาจต่อรองทันที สามารถเลือซื้อสินค้าที่มีราคาถูกว่ามาใช้ทดแทนกันได้ ช่วยลดต้นทุนการผลิต สำหรับสินค้าชนิดใหม่ ที่จะมีทดแทนสินค้าชนิดเดิมที่มีอยู่ ทำให้อุตสาหกรรมนั้นมีแนวโน้มที่จะมีแข่งขันที่สูงมากขึ้น

4. คู่แข่งขันระหว่างคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Rivarly Among Current Competitors) : สภาวะการแข่งขันของระหว่างธุรกิจต่างๆ จะทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อองค์กรธุรกิจหนึ่งมองเห็นช่องทางในการได้กำไรมกขึ้น หรือถูกคุกคามากการกระทำขององค์กรธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น การลดราคา การต่อสู้ทางด้านการตลาด การแนะนำสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาด หรือ การเพิ่มการให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า ถ้าสภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมไม่รุนแรง โอกาสที่องค์กรธุรกิจต่างๆ จะขึ้นราคาสินค้าและบริการ เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรที่มากขึ้นก็จะมีมาก
 
5. อุปสรรค์ของคู่แข่งขันรายใหม่ (Threat of new Entrance) : คู่แข่งขันใหม่ๆ ได้แก่องค์กรธุรกิจอื่นที่ในขณะนั้นอยู่ภายนอกอุตสาหกรรมแต่มีความสามารถและแนวโน้มที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรม โดยปรกติแล้วองค์กรธุรกิจเดิมที่อยู่ภายในอุตสาหกรรมจะพยายามป้องกันไม่ให้องค์กรใหม่ๆ เข้ามาในอุตสาหกรรม เนื่องจากองค์กรใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมจะส่งผลกระทบต่อสภาวะในการแงขันในอุตสาหกรรมอันจัเป็ยข้อจำกัดที่สำคัญต่อการดำเนินงานและการแข่งขันขององค์กรธุรกิจเดิมในอุตสาหกรรมเนื่องจากองค์กรใหม่ที่เข้ามาย่อมต้องการส่วนแบ่งตลาด ซึ่งเป็นผลเสียต่อองค์กรเดิมที่มีอยู่แล้วยกเว้นในกรณีที่ตลาดมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การเข้ามาของธุรกิจใหม่ๆ ก่อให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น อาจมีการลดราคาสินค้าและบริการลง โดยในการตัดสินใจเข้าสู้อุตสาหกรรมขององค์กรธุรกิจใหม่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญสองประการได้แก่ ต้นทุนในการเข้าสู้อุตสาหกรรมและการโต้ตอบจากองค์กรธุรกิจเดิม
(ที่มาแหล่งข้อมูล http://www.dektube.com/action/viewarticle/10582/______Five_Force_Model/)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น